หากคุณกำลังมีอาการปวดบริเวณคอ, บ่า หรือข้อไหล่ นั่นแสดงว่าอาการเหล่านี้จะส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ

สาเหตุของอาการปวดบริเวณบ่าหรือไหล่คืออะไร?

  • ผู้คนส่วนใหญ่มักทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือใช้เวลาส่วนมากไปกับการท่องโลกออนไลน์ในโทรศัพท์มือถือ และใช้เวลาไปหลายชั่วโมงต่อวัน ซึ่งหากคุณอยู่ในท่าทางเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อทางด้านหน้าถูกทำงานในลักษณะการหดสั้นลง และอาจเกิดสิ่งเหล่านี้ตามมา ได้แก่ อาการปวดบริเวณแขน บ่า ไหล่ สะบัก และหลังส่วนล่าง
  • การที่เราอยู่นิ่งๆ ในท่านั่งทั้งวัน โดยไม่ได้ขยับร่างกายโดยใช้กล้ามเนื้อที่หลากหลาย จะทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอลง และไม่มีความพร้อมในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ลูกค้าของเราส่วนใหญ่มักมีอาการปวดบริเวณบ่าไหล่ที่คล้ายคลึงกัน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการใช้สมาร์ทโฟนทั้งสิ้น

เราจะทราบได้อย่างไรว่าคุณกำลังเริ่มมีอาการเหล่านี้?

คุณรู้สึกว่านิ้วโป้งของคุณมีอาการเจ็บหรือขยับได้แบบติดขัด ฝ่ามืองุ้มเข้า หรือตึงกล้ามเนื้อแขนทางด้านหน้าอยู่หรือไม่?
อาการที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นสัญญาณแรกของอาการปวดไปยังคอ บ่า ไหล่สำหรับผู้ที่มีท่าทางที่ผิดปกติ (Poor posture)
กล้ามเนื้อแขนจะมีการเชื่อมโยงไปยังกล้ามเนื้อหน้าอกและบริเวณซี่โครงที่ 3-5 (ซี่โครงมีความสัมพันธ์กับระบบการหายใจ) เมื่อเนื้อเยื่อที่บริเวณแขนมีความตึงตัวเกิดขึ้น หลังจากนั้นจะเกิดการตึงตังไปยังไหล่ บ่า สะบัก และคอ.. แต่ “สัญญาณอันตราย” (RED LIGHT sensor) ไม่ใช่แค่สาเหตุของอาการปวด แต่คือผลจากการท่าทางที่ไม่ถูกต้องของคุณ
รู้หรือไม่ว่าถึงแม้ว่าร่างกายของคุณจะมีเพียงความตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าอก (Pectoralis minor) แต่มันส่งผลให้เกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวของทรวงอกและระบบการหายใจ นอกจากนี้ยังทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งมีความเชื่อมโยงกับซี่โครงนั้นมีสารน้ำลดลงอีกด้วย
โดยทั่วไปแล้วเรามักจะคิดถึงผลของภาวะข้อไหล่ติด หรืออาการปวดเรื้อรัง และหยุดอยู่แค่บริเวณหัวไหล่เท่านั้น แต่ที่ The Balance Pilates & Physio เราให้การดูแลด้วยมุมมองที่กว้างกว่านั้น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาส่วนใหญ่ในชั่วโมงการเรียนจึงให้ความสำคัญกับท่าทางที่ถูกต้อง รูปแบบการหายใจ และ Motor control โดยจะช่วยให้คุณมีท่าทางในชีวิตประจำวันที่ถูกต้อง และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะปวดข้อไหล่เรื้อรัง

จริงหรือไม่ที่อาการปวดคอ บ่า ไหล่สามารถเกิดได้ทุกช่วงวัย?

– ผู้สูงอายุ: โดยส่วนมากผู้สูงอายุจะมีช่วงการเคลื่อนไหวลดลง ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันก็ลดลงด้วย ดังนั้นช่วงอายุนี้ เนื่องจากการเคลื่อนไหวที่น้อย อาจทำให้เกิดการตึงตัวของกล้ามเนื้อมากขึ้น และเกิดเป็นการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่มากขึ้น
– วัยรุ่น: พฤติกรรมเป็นปัจจัยหลักในการศึกษาเรื่องท่าทางที่ถูกต้อง โดยวัยรุ่นสมัยนี้มักจะอยู่กับสมาร์ทโฟน ไหล่ห่อ คอยื่น จึงไม่แปลกที่จะทำให้เกิดความตึงตัวไปยังแขนได้
– นักกีฬา: ไม่ว่าจะเป็นผู้คนที่เข้าฟิตเนสเป็นประจำ นักกอล์ฟ หรือนักกีฬาประเภทอื่นๆ ก็ตาม เรามักจะคิดว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับท่าทางใดๆ แต่ที่จริงแล้ว การบาดเจ็บทางกีฬามักมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากท่าทางที้ผิดในการทำกิตกรรมเหล่านัั้น ยกตัวอย่างเช่น นักวิ่งส่วนมากใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทำให้มีภาวะคอยื่นและเกิดความตึงตัวของแขน และเมื่อพวกเขาเริ่มที่จะวิ่ง แต่กลับวิ่งด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องเหล่าน้้น ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของกระดูกเชิงกราน ทรวงอก การเคลื่อนไหวของแขนที่น้อย และการวางตำแหน่งของส้นเท้าที่ผิด ก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน

อาการปวดแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์?

เราจะให้คำแนะนำลูกค้าที่มีอาการปวดชนิดปวดแหลม ปวดแสบปวดร้อน และส่งผลต่อการนอนหลับหรือการใช้ชีวิตประจำวันให้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะแนะนำให้รับประทานยาเพื่อกำจัดปวด แน่นอนว่ามันเป็นวิธีที่ได้ผลอย่างรวดเร็วเพื่อให้คุณกลับไปใช้ชีวิตได้ทันที แต่ผลเหล่านั้นจะไม่อยู่กับคุณไปในระยะยาวนะ

จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณไม่แก้ไขอาการปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่?

ที่ The Balance Pilates & Physio เราจะมองในมุมกว้าง ให้การดูแลที่ครอบคลุม ต่างจากโรงพยาบาลหรือนักกายภาพบำบัดทั่วไป ซึ่งให้ความสำคัญกับตำแหน่งที่มีอาการปวดเท่านั้น ที่สตูดิโอของเราจะหาตำแหน่งที่มีอาการปวด แต่ความแตกต่างของเราคือเราจะหาสาเหตุและรูปแบบของอาการปวดเหล่านั้น
การเข้าใจรูปแบบของอาการปวด จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนและสร้างรูปแบบขึ้นมาใหม่ได้ โดยการคืนความสมดุลให้กับกล้ามเนื้อ ซึ่งกล้ามเนื้อที่เกิดความไม่สมดุลนั่นแหละที่เป็นสาเหตุหลักของอาการปวดในร่างกายของเรา

การผ่าตัดมีความจำเป็นหรือไม่กับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง ?

เรามักจะบอกลูกค้าของเราว่าให้ใช้การออกกำลังกายพิลาทิสเป็นหนึ่งในทางเลือกแรกก่อนการผ่าตัดเสมอ สิ่งแรกที่สตูดิโอของเราจะมอบให้คุณนั่นคือการทำความเข้าใจสาเหตุของอาการปวด จากนั้นจะสร้างโปรแกรมการออกกำลังกายพิลาทิสทั้งที่สตูดิโอและที่บ้าน นอกจากนี้เรายังมีการรักษาอาการปวดโดยนักกายภาพบำบัด และหัตถการเทคนิค Myofascia release เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวให้เนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง เรามีลูกค้ามากมายที่จะต้องได้รับการผ่าตัดแต่ประสบความสำเร็จจากการดูแลของทางสตูดิโอ หลังจากได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายพิลาทิสและการรักษาอื่นๆ ร่วมด้วยแล้ว หลายท่านสามารถกลับไปมีองศาการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้นโดยปราศจากการผ่าตัด

นอกจากนี้เรายังมีความเชี่ยวชาญในกลุ่มการฟื้นฟูจากการทำงานของข้อไหล่หลังจากผ่าตัดอีกด้วย โดยการใช้การออกกำลังกายพิลาทิสเพื่อลดผลข้างเคียงของการผ่าตัด โดยคำนึงถึงหลักกายวิภาคศาสตร์ของข้อไหล่ และช่วยฟื้นฟูองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ของคุณ ในบางเคสการผ่าตัดข้อไหล่หนึ่งข้าง อาจส่งผลให้เกิดการทดแทนบางอย่างไปยังข้อไหล่อีกข้างได้ และอาจทำให้เกิดการผ่าตัดขึ้นอีกครั้งก็เป็นได้..
…ดังนั้นควรจำไว้เสมอว่า เมื่อไรก็ตามที่คุณได้รับการผ่าตัดแล้วคุณหยุดที่จะเคลื่อนไหว มันจะส่งผลให้ร่างกายอีกด้านของคุณเคลื่อนไหวเกิดความจำเป็น และจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาในไม่ช้านี้
เราแนะนำสิ่งที่ดีให้คุณ นั่นคือการออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดในระยะยาว มากกว่าการผ่าตัดซึ่งจะนำมาซึ่งปัญหาจากการผ่าตัดเมื่อร่างกายมีการทดแทน (Compensate) ไปยังส่วนอื่นๆ

ขั้นตอนการดูแลของเราคืออย่างไรบ้าง?

1.Body reading:

เป็นการวิเคราะห์แนวตำแหน่งของร่างกาย และท่าทาง
2.Body Assessment:

เป็นการวิเคราะห์แนวตำแหน่งของร่างกายในขณะที่คุณมีการเคลื่อนไหว โดยใช้ท่าการออกกำลังกายต่างๆ เพื่อวิเคราะห์กล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน ดูความสมดุลในการทำงานของกล้ามเนื้อเพื่อสร้างโปรแกรมการออกกำลังกายพิลาทิสทั้งที่สตูดิโอและที่บ้าน
3.Strategies:

การอธิบายโปรแกรมการออกกำลังกาย พิลาทิส และการฝึกฝน นอกจากนี้ยังเสริมสร้างความเข้าใจในการตอบสนองของร่างกายต่อท่าออกกำลังกายที่แตกต่างกัน เพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุลในการทำงานของกล้ามเนื้อ

เทคนิคที่เราใช้ ได้แก่:
– การออกกำลังกายพิลาทิส ร่วมกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้สามารถควบคุใการทำงานของกล้ามเนื้อแบบแยกส่วนได้ นอกจากนี้ยังยืดกล้ามเนื้อที่หดสั้น และคืนความสมดุลให้กับกล้ามเนื้อในทุกทิศทาง
– ในเคสที่มีความเฉพาะเจาะจงเราจะใช้เทคนิค Myofascia release ซึ่งเป็นหัตถการที่ใช้เพื่อคลายผมผังพืดของเนื้อเยื้อ ทำให้เกิดสารน้ำเพื่อเพิ่มข้วงการเคลื่อนไหวได้ในทุกทิศทาง
– การออกกำลังกายเพื่อรีเซ็ตรูปแบบการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ไม่ถูกต้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสั่น และเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังกล่าวให้เกิดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ที่ถูกต้อง
– การออกกำลังกายทางกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นข้อต่อต่างๆ

shoulder pain

การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย

ในเคสนี้เราใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า “Oov” ร่วมกับเทคนิคการสั่น (Shaking Mode) เพื่อรีเซ็ตรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของร่างกาย
ในชีวิตประจำวันและพฤติกรรมที่เรามักจะทำเป็นประจำนั้น ทำให้คนเราเกิดเป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติโดยการใช้เพียงกล้ามเนื้อมัดเดิมๆ ในการทำงาน และลดการทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญหลายๆ มัด – ผลที่เกิดขึ้นมักถูกเรียกว่าภาวะข้อไหล่ติด หรือ Frozen shoulder ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Motor Control) ใน 1 ชั่วโมงนี้ที่ให้เราดูแล จะทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงช่วงการเคลื่อนไหวที่มากขึ้นได้

ผลที่เกิดขึ้นหลังจากการเรียนพิลาทิสร่วมกับการทำเทคนิค Myofascia release เป็นเวลา 1 ชั่วโมง

Contact us now by email or chat online


for more exercises click HERE