สำหรับหนุ่มสาว Office ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ทรมานเนื่องจากนั่งหน้าคอม ทำงานหนัก โรคออฟฟิศซินโดรม
เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ
สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม- Office syndrome
- การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ
- ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม
- สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม
- ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย
อาการปวดเมื่อยล้าตรงกล้ามเนื้อ จะรู้สึกเกร็งเหมือนกล้ามเนื้อถูกดึงรั้ง นานวันเข้าจากอาการแค่ปวดกล้ามเนื้อ อาจกลายเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ปวดเจ็บตามอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแขนขา ข้อมือ ไหล่ หลัง ซึ่งปวดมากหรือปวดน้อยก็แล้วแต่การสะสมของโรค
แนวทางการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม – Office syndrome
การปรับเปลี่ยนท่าทางการนั่งที่เหมาะสม – อาการเหล่านี้…..ควรปรับท่าให้ถูกต้อง
จากประสบการณ์ของตนเอง + ปรึกษานักกายภาพ พบว่า
.
“อาการปวด สำหรับผู้ที่ทำงานหน้าคอม หรือ นั่งทำงานเป็นเวลานาน”
.
ปวดไหล่ เนื่องจากกางศอกเล่นคอม ศอกไม่แนบลำตัว
กางศอกจับเมาส์ ไม่ได้วางศอกไว้ข้างลำตัว
.
ปวดหลังด้านล่าง เนื่องจากนั่งหลังไม่พิงพนัก ทำให้เราเกร็งกล้ามเนื้อหลังโดยไม่รู้ตัว นั่งไขว่ห้าง
แก้โดย เปลี่ยนเป็นเก้าอี้ที่มีพนักพิงแผ่นหลังได้จนถึงหัวไหล่ (ถ้าให้ดีควรถึงคอ)
หรือหากเก้าอี้ใหญ่เกินไป นั่งพิงพนักไม่ได้ ให้หาหมอนมารองอีกชั้น
.
ปวดบ่า เนื่องจากแม้ว่าจะวางศอกไว้ข้างลำตัว แต่ไม่ได้รองศอก ศอกลอยอยู่เหนือที่วางศอก
แก้โดย หาหมอน หรือผ้าขนหนูมารองข้อศอก
.
ปวดคอมาก หันคอไม่ได้ เคี้ยวอาหาร กลืนอาหารก็ปวดเกร็ง….ไปหมด
ล้มตัวลงนอนก็ปวดคอมาก นอนไม่หลับ ต้องตื่นกลางดึก ทรมานมากกกก ทำงานไม่ได้
เนื่องจากยกศอกเล่นคอม คือ ศอกอยู่แนบลำตัว แต่ที่รองศอกอยู่สูงกว่าระดับศอก
หรือวางศอกไว้บนโต๊ะที่สูงกว่าระดับศอกของเรา
สังเกตตัวเองหน้ากระจก หัวไหล่ข้างที่ยกศอกจะตก ลู่ลง ไหล่ไม่เท่ากันกับอีกข้างหนึ่ง
.
ปวดหลังด้านบน + คอ + บ่า เนื่องจากแม้ว่าเราจะนั่งหลังพิงพนัก แต่ห่อตัวเล่นคอม หรือ โน้มตัวมองคอม (Notebook)
เนื่องจากจอคอมเล็กเกินไป หรือ จึงต้องก้มตัวไปมองใกล้ๆ
.
ปรับเปลี่ยนท่าทาง และ บริหารร่างกายด้วย การหมุนไหล่ไปด้านหลังหากรู้สึกไม่ดีขึ้น อาการปวดยังเหมือนเดิม ควรปรึกษาแพทย์ หรือ นักกายภาพบำบัด ฯลฯ
นอกจากนี้การยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยการทำกายภาพบำบัดก็มีส่วนสำคัญในการปฎิบัตืตัว ควบคู่ไปกับการฝึกพิลาทีส ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ร่วมกับการสร้างความแข็งแกร่ง