THAI / ENG

Shoulder Pain – ข้อไหล่ติด

ข้อไหล่เป็นข้อต่อที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการเคลื่อนไหว จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นข้อต่อที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระมากที่สุดในบรรดาข้อต่อต่างๆในร่างกาย และเป็นข้อต่อที่เชื่อมกับข้อต่อต่างๆรวมทั้งสิ้น 7ข้อ ดังนั้นข้อไหล่จึงประกอบไปด้วยส่วนต่างๆที่สำคัญ ทั้งกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก ถุงน้ำ ทำให้การดูแลรักษาข้อไหล่นั้น จำเป็นจะต้องดูแลแบบเป็นองค์รวม และนอกจากนี้ข้อไหล่ยังมีการเชื่อมต่อกับข้อต่อต่างๆที่สำคัญของร่างกายไม่ว่าจะเป็นคอ สะบัก หรือหลัง ผ่านทางโครงสร้างของกล้ามเนื้อและเอ็น นั่นจึงทำให้เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่ข้อไหล่อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บที่คอ บ่า หรือในทางกลับกันถ้ามีอาการบาดเจ็บที่คอ บ่า ก็อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่ข้อไหล่ได้ด้วยเช่นกัน

 

ข้อไหล่ติด – สาเหตุ

จากการที่ข้อไหล่มีองค์ประกอบต่างๆเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างความมั่งคง จึงทำให้สาเหตุของการบาดเจ็บของข้อไหล่มีหลายปัจจัยเช่นกัน ทั้งการบาดเจ็บจากเอ็นรอบข้อไหล่(Tendinitis) การกดทับของเอ็นข้อไหล่จากกระดูก(Impingement) การอักเสบของถุงน้ำในข้อไหล่(bursitis) ข้อไหล่ติด(Frozen shoulder) เอ็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่สร้างความมั่นคงของข้อไหล่บาดเจ็บ(Rotator cuff tear) ถ้าไม่รับการรักษาหรือปล่อยทิ้งไว้อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด
ปัญหาหลักของอาการบาดเจ็บที่ข้อไหล่นั่นคือ การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การยกของหนัก หรือแม้กระทั้งการเคลื่อนไหวในทิศทางซ้ำๆเป็นประจำ เช่น การหยิบของเหนือศรีษะ การใช้งานคอมพิวเตอร์ และการทำความสะอาดบ้านเป็นต้น

ข้อไหล่ติด – อาการ

อาการปวดข้อไหล่หรือการบาดเจ็บของข้อไหล่นั้นส่งผลให้เกิดปัญหาต่อกล้ามเนื้อคอบ่า ทำให้รู้สึกเมื่อยล้า หรือกำลังการใช้งานของกล้ามเนื้อลดลง รวมไปถึงความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่เพิ่มมากขึ้น (เวลาคลำบริเวณกล้ามเนื้อจะรู้สึกกล้ามเนื้อแข็งเป็นก้อน) และมีเสียงในข้อขณะเคลื่อนไหว
ตำแหน่งของการบาดเจ็บนั้นก็จะแสดงออกมาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อต่อรอบข้อไหล่ที่ได้รับการบาดเจ็บ เช่น ถ้ามีการบาดเจ็บบริเวณในเบ้าของข้อไหล่(Glenohumeral joint) อาการจะแสดงบริเวณตรงกลางของข้อไหล่ แต่ถ้ามีการบาดเจ็บบริเวณข้อต่อที่อยู่บริเวณปลายนอกกระดูกไหปลาร้า(Acromioclavicular joint (ACJ)) อาการจะแสดงบริเวณเหนือต่อข้อไหล่และส่วนใหญ่จะมีอาการปวดบริเวณคอบ่าร่วมด้วย

ทำอย่างไรให้อาการปวดข้อไหล่หายไป!!

อาการปวดข้อไหล่นั้นสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งการบาดเจ็บจากการประสบอุบัติเหตุ หรือจากการทำงานในรูปแบบการเคลื่อนไหวซ้ำๆ –โดยเฉพาะการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือเขียนหนังสือเป็นระยะเวลานาน แม้กระทั้งการเคลื่อนไหวในองศาเดิมหรือช่วงการเคลื่อนไหวเดิมตลอดเวลา จนบางครั้งอาจทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อไหล่ และทำให้เกิดปัญหาต่อส่วนอื่นๆของร่างกายได้เช่นกัน
วิธีการดูแล รักษาข้อไหล่ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

Soft Tissue Mobilization

การรักษาด้วยวิธีการ Soft tissue mobilization เป็นการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ใช้เทคนิคการคลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อของร่างกายที่ยึดติดกัน เป้าหมายของการรักษาคือปรับเปลี่ยนการเรียงตัวของเนื้อเยื่อ ลดความตึงตัว เพื่อให้กล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่าอิสระ
การกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ (Be Activated – Muscle Activation)

ตลอดเวลาที่ร่างกายเคยชินกับการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนต่างๆเพื่อมาชดเชยการทำงานของกล้ามเนื้อที่ได้รับการบาดเจ็บเพื่อประคับประคองให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นไปตามที่ต้องการ แต่นั่นหมายถึงกล้ามเนื้อจำเป็นที่จะต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นจนการทรงท่าของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป เมื่อทิ้งระยะเวลานานขึ้นรูปแบบการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจนทำให้เกิดการบาดเจ็บ ความเข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ความเร็วในการเคลื่อนไหวลดลงและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ในที่สุด แต่การกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้นสามารถลดปัญหาความตึงตัวและอาการบาดเจ็บ ร่างกายจะตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อเราได้รับการออกกำลังกายที่ถูกต้องจะทำให้ล้นระยะเวลาในการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว และทำให้เราสามารถควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

ดังนั้นถ้าคุณยังไม่รู้ขั้นตอนการป้องกันและดูแลข้อไหล่ให้พ้นจากอาการบาดเจ็บ หรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม The Balance Studio ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการดูแลร่างกาย และการออกกำลังกายเพื่อป้องกันและลดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกายผ่านการออกกำลังกายในรูปแบบของ Pilates exercise

วิธีง่ายๆ…ให้หายจากอาการปวดไหล่

อาการปวดไหล่นั้นเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ทั้งจากอุบัติเหตุ หรือการนั้นทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ บางครั้งอาจเกิดจากการอักเสบของตัวข้อไหล่จากปัจจัยต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีนักเพราะอาการปวดข้อไหล่นั้นอาจส่งผลต่อส่วนอื่นๆของร่างกายได้ – ปวดคอ ปวดหลัง เมื่อยตึงกล้ามเนื้อต้นขา ไปจนถึงการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อสะโพกได้ ที่บางคนอาจเคยได้ยินกันมาว่า “ปวดไหล่แล้วร้าวลไปที่….”
การออกกำลังกายจึงเป็นทางเลือกที่สำคัญในการช่วยรักษา หรือหยุดอาการปวดไหล่ได้ เพราะมากกว่า 50% เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ไม่เพียงพอทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานได้อย่างเต็มที่ การออกกำลังกายจึงเป็นการรักษาที่ต้นเหตุเพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อให้ควบคุมร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Let’s stop it.