THAI / ENG
ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดข้อไหล่อย่างไร ไม่ให้ข้อไหล่ติด
หลายๆคนอาจจะรู้สึกกังวลเมื่อรู้ว่าตัวเองจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดข้อไหล่ ทั้งอาการปวด อาการบวมหรือแม้กระทั้งการเคลื่อนไหวที่ถูกจำกัด จนอาจคิดไปว่าจะสามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้ไม่เหมือนเดิม ไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น หยิบของเหนือศรีษะ ช็อปปิ้ง หรือแม้กระทั้งกอดคนที่เรารักได้หรือไม่ คำถามในใจต่างๆพวกนี้จะลดลงเมื่อได้ลองอ่านและปฏิบัติตามการดูแลตัวเองแบบ THE BALANCE Physio Pilates
สัปดาห์ 0-2:
การรักษา: ¬Soft tissue mobilization to surrounding tissues, effleurage for edema; gentle PROM
การออกกำลังกาย: Pendulum exercises ทวนเข็ม 10 ครั้ง ตามเข็ม 10 ครั้ง 3 รอบต่อวัน ก่อนและหลังกายออกกำลังกาย
Squeeze ball ค้างไว้ 5 วินาที และพัก 5-10 ครั้งต่อ 1 รอบ 3 รอบต่อวัน.
Isometric shoulder flexion ค้างไว้ 5 วินาที และพัก 5-10 ครั้งต่อ 1 รอบ 3 รอบต่อวัน. Isometric shoulder extension ค้างไว้ 5 วินาที และพัก 5-10 ครั้งต่อ 1 รอบ 3 รอบต่อวัน.
Isometric shoulder abduction ค้างไว้ 5 วินาที และพัก 5-10 ครั้งต่อ 1 รอบ 3 รอบต่อวัน.
Isometric shoulder adduction ค้างไว้ 5 วินาที และพัก 5-10 ครั้งต่อ 1 รอบ 3 รอบต่อวัน.
Isometric shoulder internal rotation ค้างไว้ 5 วินาที และพัก 5-10 ครั้งต่อ 1 รอบ 3 รอบต่อวัน. Isometric shoulder external rotation ค้างไว้ 5 วินาที และพัก 5-10 ครั้งต่อ 1 รอบ 3 รอบต่อวัน.
Scapular pinches every hour ค้างไว้ 5 วินาที และพัก 5-10 ครั้งต่อ 1 รอบ 3 รอบต่อวัน.
Neck stretches for comfort ค้างไว้ 10 วินาที และพัก 5-10 ครั้งต่อ 1 รอบ 3 รอบต่อวัน.
*การใส่ที่ประคองแขนเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญเช่นกันนั่นคือการพักข้อศอกโดยการงอ-เหยียดศอก ประมาณ 10-15 ครั้ง
เป้าหมาย: ลดอาการปวด และบวม, สามารถงอและเหยียดข้อศอกได้, ใส่ที่ประคองแขนเป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์หรือจนกว่าแพทย์จะกำหนด
สัปดาห์ 2- 4:
Nurse visit at day 14 for suture removal and checkup.
การรักษา: รักษาด้วยการคลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบๆข้อไหล่และคอบ่า (Soft tissue treatments)
การออกกำลังกาย: ¬ ออกกำลังกายตามสัปดาห์แรกอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาข้อต่อที่อยู่ในชุดประคองแขนยึดติดรวมถึงข้อไหล่
เป้าหมาย: ลดอาการปวด และบวม, สามารถใช้แขนอีกข้างช่วยยกประคองขึ้นได้ประมาณ 0-60 องศา(Passive range of motion shoulder flexion)
สัปดาห์ 4-8:
แพทย์นัดตรวจประเมินผลของการผ่าตัด โดยส่วนใหญ่จะเริ่มให้เคลื่อนไหวข้อไหล่เอง หรือทำการถอดชุดประคองแขน
การรักษา: รักษาด้วยการคลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบๆข้อไหล่และคอบ่า (Soft tissue treatments),นักกายภาพบำบัดเริ่มช่วยประคองแขน เคลื่อนไหวข้อไหล่ให้เกิดการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น (Gentle mobilizations Gr I/II)
การออกกำลังกาย:¬ สัปดาห์ที่ 4 เริ่มบริหารข้อไหล่ในทิศหมุนเข้า-หมุนออกประมาณครึ่งทาง (mid-range of motion external and internal rotations) แบบไม่มีแรงต้าน หรือมีแรงต้านเบาเท่าที่ไม่มีอาการ
*ระวังการยกบ่าหรือการชดเชยของกล้ามเนื้ออื่นๆ และไม่เคลื่อนไหวที่ฝืนมากเกินไหนหรือเท่าที่ไม่เกิดอาการเจ็บที่บริเวณข้อไหล่
เป้าหมาย: สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้เองประมาณ 90 องศา ไปทางด้านหน้าและด้านข้าง
สัปดาห์ที่ 6 สามารถเริ่มใช้มืออีกข้างขยับในทิศหมุนเข้าและออกได้มากขึ้น จนกระทั้งสามารถเคลื่อนไหวได้เองในสัปดาห์ที่ 8
สัปดาห์ 8-12:
การรักษา: นักกายภาพบำบัดเคลื่อนไหวข้อต่อและคลายพังพืดที่เกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่บริเวณรอบข้อไหล่และสะบัก โดยมีมีอาการบาดเจ็บ เพื่อลดความตึงตัวและการยึดติดของข้อต่อโดยรอบ
การออกกำลังกาย:¬ เคลื่อนไหวข้อต่อได้ในทุกทิศทาง
* หลังผ่าตัดส่วนใหญ่เมื่อยกแขนเหนือศรีษะ จะสังเกตุเห็นว่าจะมีการยักบ่าหรือยักหัวไหล่ขึ้น นั่นเป็นเพราะกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อไหล่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงควรสังเกตุการเคลื่อนไหวของตัวเองทุกครั้งเพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือปรึกษาท่าออกกำลังกายกับนักกายภาพบำบัด ยังไม่ควรยกของเหนือศรีษะ
เป้าหมาย: สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อโดยใช้มืออีกข้างช่วยจนสุดช่วงการเคลื่อนไหวในทุกทิศทาง และสามารถเคลื่อนไหวได้เองเต็มที่ในช่วงสัปดาห์ที่ 12
สัปดาห์ 12-16:
การออกกำลังกาย:¬ เริ่มออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเบาๆ (เริ่มจากน้ำหนักประมาณ กาแฟ 1แก้ว ไปจนถึงน้ำหนักที่ไม่รู่สึกถึงอาการเจ็บในข้อไหล่)
*พยายามอย่าฟืนร่างกายและฟังสิ่งที่ร่างกายกำลังบอก ค่อยๆปรับเพิ่มน้ำหนักและความยากช้าๆ แล้วจะทำให้ข้อไหล่สามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้ปกติเร็วขึ้น
สัปดาห์ 16 เป็นต้นไป:
การออกกำลังกาย: ออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
เป้าหมาย: สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ