เข่าเสื่อม – Osteoarthritis knees

posted in: Syndrome 0

เข่าเสื่อมเล่นพิลาทิสได้มั้ย ต้องเล่านิดนึงก่อนว่าความเสื่อมนี้สามารถเกิดได้กับข้อต่อในร่างกายเรา ไม่ว่าจะเป็นเข่า ข้อสะโพก นิ้วมือ กระดูกสันหลังฯ ซึ่งส่วนใหญ่ยังสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้แต่ก็มักจะเป็นแพ็คเกจที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น ซึ่งมีการใช้งานมาอย่างยาวนาน (wear and tear) นั่นเองครับ. คราวนี้มารู้จักเข่าเสื่อมคร่าวๆกันครับ ปกติผิวข้อต่อเราจะมีกระดูกอ่อนหุ้มอยู่ (articular cartilage)เพื่อทำหน้าที่ช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนได้ดี ลดแรงเสียดทาน ซึ่งเจ้าตัวนี้แหละครับที่เกิดการสึกกร่อน ร่วมกับspaceระหว่างผิวข้อลดลง น้ำไขข้อก็น้อยลง จึงทำให้กลายเป็นข้อเสื่อมนั่นเองครับ หากปล่อยไว้นานผิวข้อต่ออาจขรุขระเกิดเป็นกระดูกงอกได้(bone spur). แล้วพิลาทิสช่วยอย่างไร : ช่วยลดอาการปวดโดยการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบๆเข่า ข้อสะโพก ฯ ช่วยชะลอความเสื่อมของข้อเข่า ผ่านการสร้างความสมดุลให้กล้ามเนื้อ ปรับสรีระ/posture ให้ดีขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายน้ำหนักที่เหมาะสม เพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ อุปกรณ์พิลาทิสเป็นทั้งแรงช่วยและแรงต้านเพื่อให้ออกกำลังกายได้ง่ายขึ้น ตอนนี้ครูเองก็มีนักเรียนที่มีปัญหาเข่าเสื่อมและผ่าข้อเข่าแล้วมาฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อแข็งแรง บรรเทาอาการปวด ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มมีความแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ อาการปวดลดลง(ต้องติดตามกันไปยาวๆ) บ้านเราตอนนี้พบว่ามีคนที่เป็นเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเลยครับ แล้วจะดีมั้ยหากเราจะลดโอกาสเป็นข้อเสื่อม … Read More

Quadratus Lumborum – Lower back pain

Release the Quadratus Lumborum – Lower back pain รู้หรือไม่ อาการปวดหลังส่วนล่าง (Lower back pain) ที่พบในคนไข้ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากปัญหาพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานนานๆ ขับรถนานๆ ยืนนานๆ ฯ จนกลายเป็นปัญหาปวดหลังเรื้อรัง ที่รักษายังไงก็ไม่หายขาด บางคนถึงกับต้องยอมเสียเวลา เสียเงินไปนวดเป็นประจำทุกอาทิตย์!!! กล้ามเนื้อที่คุณควรรู้ ใน Content นี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกล้ามเนื้อตัวนึงที่มีผลต่ออาการปวดหลัง จนบางทีมีอาการร้าว (Referred pain) ไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ นั่นคือ ” QL (Quadratus Lumborum) ” QL เป็นกล้ามเนื้อตัวสำคัญที่วางตัวอยู่บริเวณหลังส่วนล่าง โดยเกาะที่ซี่โครงและเชิงกราน กล้ามเนื้อนี้มีหน้าที่ … Read More

5 ท่าออกกำลังกาย ป้องกันอาการปวดไหล่ ก่อนไหล่พัง

posted in: Syndrome 0

5 ท่าออกกำลังกาย ป้องกันอาการปวดไหล่ ก่อนไหล่พัง ในปัจจุบันการทำงานมักจะมาคู่กับอาการปวดเมื่อยต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อจำเป็นจะต้องทำกิจกรรมเดิมซ้ำๆ เช่น การทำงานเอกสารหน้าคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การนั่งขับรถเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน ถือเป็นปัจจัยหลักของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ หลายคนอาจจะรู้อยู่แล้วว่า นี่คือสาเหตุของอาการปวด แต่จะแก้ไขอย่างไรให้อาการเหล่านี้หายไปและรู้สึกอยากกลับมานั่งทำงาน หรือขับรถแบบไร้อาการปวดเหล่านี้ได้อย่างสบายใจอีกครั้ง ลองทำตามท่าออกกำลังกายง่ายๆ 5 ท่า ใน 3 นาทีนี้ดูนะคะ 1. ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ บ่า: ท่าเริ่มต้น – นั่งขนเก้าอี้ เท้าทั้ง 2 ข้างติดพื้น ผ่อนคลายแขนฝั่งที่ต้องการยืด (รู้สึกเหมือนมีคนดึงแขนลงพื้นด้านล่าง) และใช้มืออีกข้างดึงศรีษะไปด้านตรงข้าม ค้างท่านี้ไว้ 5 วินาที ต่อครั้ง ทำซำ้ 5 … Read More

ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดข้อไหล่อย่างไร ไม่ให้ข้อไหล่ติด

posted in: Syndrome 0

THAI / ENG ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดข้อไหล่อย่างไร ไม่ให้ข้อไหล่ติด หลายๆคนอาจจะรู้สึกกังวลเมื่อรู้ว่าตัวเองจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดข้อไหล่ ทั้งอาการปวด อาการบวมหรือแม้กระทั้งการเคลื่อนไหวที่ถูกจำกัด จนอาจคิดไปว่าจะสามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้ไม่เหมือนเดิม ไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น หยิบของเหนือศรีษะ ช็อปปิ้ง หรือแม้กระทั้งกอดคนที่เรารักได้หรือไม่ คำถามในใจต่างๆพวกนี้จะลดลงเมื่อได้ลองอ่านและปฏิบัติตามการดูแลตัวเองแบบ THE BALANCE Physio Pilates สัปดาห์ 0-2: การรักษา: ¬Soft tissue mobilization to surrounding tissues, effleurage for edema; gentle PROM การออกกำลังกาย: Pendulum exercises ทวนเข็ม 10 ครั้ง ตามเข็ม … Read More

กระดูกสันหลังคดในเด็ก

posted in: Syndrome 0

กระดูกสันหลังคดในเด็ก ?? โรคกระดูกสันหลังคดในเด็กมักไม่แสดงอาการในช่วงอาการเริ่มต้น โดยสามารถเป็นได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึงวัยรุ่น ซึ่งวัยรุ่นเป็นช่วงที่พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ 80 ไม่ทราบสาเหตุ(พันธุกรรมก็อาจเป็นสาเหตุทำให้หลังคดได้) จากการวิจัยพบว่าเด็กไทยมีกระดูกสันหลังคดอัตรา 1 ต่อ 10,000 คน ลักษณะของร่างกายที่พบได้เมื่อมีกระดูกมันหลังคด ?แนวกระดูกสันหลังไม่ตรง ?ระดับหัวไหล่หรือบ่า 2 ข้างไม่เท่ากัน ?สะบักหรือกระดูกที่เป็นคล้ายปีก มีการนูนตัวมากกว่าอีกด้าน ?ศีรษะไม่อยู่กึ่งกลางแนวกระดูกเชิงกรานทั้ง 2 ข้าง ?สะโพกด้านใดด้านหนึ่งยกขึ้นสูงกว่าอีกด้าน ?กระดูกซี่โครงมีความสูงไม่เท่ากัน ระดับเอวไม่เท่ากัน ?ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่อกระดูกสันหลังคด ?ปวดหลัง ?ตัวเอียง ไม่สมดุล การทรงตัวไม่ดี ?หายใจสั้นตื้น หายใจไม่อิ่ม เนื่องจาก การคดของกระดูกสันหลังไปเบียดปอด ?ท้องอืด ลมในท้องเยอะ ขับถ่ายไม่ปกติ ถ้าสงสัยว่าเด็กมีอาการของกระดูกสันหลังคดหรือไม่ … Read More

ทำอย่างไรให้อาการปวดข้อไหล่หายไป!!

posted in: Syndrome 0

ทำอย่างไรให้อาการปวดข้อไหล่หายไป!! อาการปวดข้อไหล่นั้นสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งการบาดเจ็บจากการประสบอุบัติเหตุ หรือจากการทำงานในรูปแบบการเคลื่อนไหวซ้ำๆ –โดยเฉพาะการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือเขียนหนังสือเป็นระยะเวลานาน แม้กระทั้งการเคลื่อนไหวในองศาเดิมหรือช่วงการเคลื่อนไหวเดิมตลอดเวลา จนบางครั้งอาจทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อไหล่ และทำให้เกิดปัญหาต่อส่วนอื่นๆของร่างกายได้เช่นกัน วิธีการดูแล รักษาข้อไหล่ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ Soft Tissue Mobilization การรักษาด้วยวิธีการ Soft tissue mobilization เป็นการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ใช้เทคนิคการคลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อของร่างกายที่ยึดติดกัน เป้าหมายของการรักษาคือปรับเปลี่ยนการเรียงตัวของเนื้อเยื่อ ลดความตึงตัว เพื่อให้กล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่าอิสระ การกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ (Be Activated – Muscle Activation) ตลอดเวลาที่ร่างกายเคยชินกับการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนต่างๆเพื่อมาชดเชยการทำงานของกล้ามเนื้อที่ได้รับการบาดเจ็บเพื่อประคับประคองให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นไปตามที่ต้องการ แต่นั่นหมายถึงกล้ามเนื้อจำเป็นที่จะต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นจนการทรงท่าของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป เมื่อทิ้งระยะเวลานานขึ้นรูปแบบการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจนทำให้เกิดการบาดเจ็บ ความเข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ความเร็วในการเคลื่อนไหวลดลงและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ในที่สุด แต่การกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้นสามารถลดปัญหาความตึงตัวและอาการบาดเจ็บ ร่างกายจะตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อเราได้รับการออกกำลังกายที่ถูกต้องจะทำให้ล้นระยะเวลาในการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว และทำให้เราสามารถควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นถ้าคุณยังไม่รู้ขั้นตอนการป้องกันและดูแลข้อไหล่ให้พ้นจากอาการบาดเจ็บ หรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม The Balance … Read More

ข้อไหล่ติด

posted in: Syndrome 0

ปวดข้อไหล่ ข้อไหล่เป็นข้อต่อที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการเคลื่อนไหว จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นข้อต่อที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระมากที่สุดในบรรดาข้อต่อต่างๆในร่างกาย และเป็นข้อต่อที่เชื่อมกับข้อต่อต่างๆรวมทั้งสิ้น 7ข้อ ดังนั้นข้อไหล่จึงประกอบไปด้วยส่วนต่างๆที่สำคัญ ทั้งกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก ถุงน้ำ ทำให้การดูแลรักษาข้อไหล่นั้น จำเป็นจะต้องดูแลแบบเป็นองค์รวม และนอกจากนี้ข้อไหล่ยังมีการเชื่อมต่อกับข้อต่อต่างๆที่สำคัญของร่างกายไม่ว่าจะเป็นคอ สะบัก หรือหลัง ผ่านทางโครงสร้างของกล้ามเนื้อและเอ็น นั่นจึงทำให้เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่ข้อไหล่อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บที่คอ บ่า หรือในทางกลับกันถ้ามีอาการบาดเจ็บที่คอ บ่า ก็อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่ข้อไหล่ได้ด้วยเช่นกัน   ปวดข้อไหล่ – สาเหตุ จากการที่ข้อไหล่มีองค์ประกอบต่างเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างความมั่งคง จึงทำให้สาเหตุของการบาดเจ็บของข้อไหล่มีหลายปัจจัยเช่นกัน ทั้งการบาดเจ็บจากเอ็นรอบข้อไหล่(Tendinitis) การกดทับของเอ็นข้อไหล่จากกระดูก(Impingement) การอักเสบของถุงน้ำในข้อไหล่(bursitis) ข้อไหล่ติด(Frozen shoulder) เอ็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่สร้างความมั่นคงของข้อไหล่บาดเจ็บ(Rotator cuff tear) และอื่นๆ ปัญหาหลักของอาการบาดเจ็บที่ข้อไหล่นั่นคือ การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การยกของหนัก หรือแม้กระทั้งการเคลื่อนไหวในทิศทางซ้ำๆเป็นประจำ เช่น … Read More