คุณจะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะข้อเข่าผิดรูปแบบหมุนเข้าด้านใน (Knock knees) หรือไม่ ?
ในผู้ที่มีภาวะการผิดรูปของข้อเข่าแบบเข่าชนกัน จะไม่สามารถยืนเท้าชิดกันได้ เนื่องจากองศาระหว่างกระดูกต้นขา (Femur) และกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) ที่มาก จนทำให้ข้อเข่าหักเข้ามาชนกันมากกว่าปกติ และผู้คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะ knock knees จะพบภาวะเท้าแบนหรืออุ้งเท้าด้านในต่ำร่วมด้วย
รูปแบบของเข่าเช่นนี้ จะส่งผลให้เกิดภาวะเสื่อมและ อาการบาดเจ็บต่างๆ ตามมาได้ภายหลัง เช่น
- รูปแบบการเดินผิดปกติจากความรู้สึกปวดที่บริเวณข้อเข่า
- อาการปวดที่เท้า, ข้อเท้า และข้อสะโพก
- สูญเสียการทรงตัว และความมั่นคงขณะยืนขาเดียว
- องศาการเคลื่อนไหวของขาลดลง
- อาการปวดหลังส่วนล่าง
- อาการปวดหลังส่วนบน ร่วมกับบริเวณบ่าหรือหัวไหล่
Posture problems with knocked knees.
Flat Feet, Ankle over pronation, knees pain, risk of meniscus surgery, hips and pelvis in tension. The Ribcage as well as shoulders are tilting to one side increasing tension supported by spine, neck etc.
สิ่งที่เกิดตามมาหลังจากเป็นภาวะ knock knees คืออะไร?
หากเราอยู่ในรูปแบบของเข่าที่ผิดปกติเช่นนี้เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะดังต่อไปนี้ ได้แก่
อาการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกเข่า
ภาวะข้อเสื่อม
ข้อต่อถูกทำลายและบาดเจ็บ
กระดูกสันหลังคด
หมอนรองกระดูกปลิ้น
อื่นๆ
สาเหตุของการเกิด Knock knees คืออะไร?
• สาเหตุทางพันธุกรรม (Genetics) โดยอาจเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลังก็ได้ ผลการศึกษาพบว่า 20% ของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีจะมีภาวะ knock knee และเมื่ออายุ 7 ปี พบเพียง 1% ที่ยังมีภาวะดังกล่าวอยู่
•โรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) เป็นภาวะที่แผ่นการเจริญเติบโต (Growth plate) ของกระดูกบริเวณข้อเข่ามีความผิดปกติ
•ท่าทางที่ผิดปกติ (Poor posture) เนื่องจากความเชื่อมโยงของกล้ามเนื้อขามีบทบาทที่สำคัญในการพยุงข้อเข่าไว้
Our Solutions
ในผู้ที่มีภาวะ Knock knees จะเกิดปัญหายังกล้ามเนื้อ 2 กลุ่มที่มีบทบาทหลัก ได้แก่
กลุ่มกล้ามเนื้อที่ถูกจำกัดอยู่ในรูปแบบการยืดตัว: กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า, กล้ามเนื้อในการงอข้อสะโพก และกล้ามเนื้อหน้าแข้ง (Quadriceps, Hips flexors & Tibialis)
กลุ่มกล้ามเนื้อที่ถูกจำกัดอยู่ในรูปแบบการหดตัว: กล้ามเนื้อต้นขาด้านใน, กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง, กล้ามเนื้อน่องด้านใน และ กล้ามเนื้อหน้าแข้งด้านข้าง (Inner thigh, internal calves, Hamstring & Fibularis muscles)
ผู้ที่มีเท้าแบนจะเกิดการคว่ำของฝ่าเท้ามาทางด้านในมากกว่าปกติ ดังนั้นวิธีการของเราคือ..
1- ฟื้นฟูการทำงานของนิ้วโป้งเท้า
2- กระตุ้นเส้นเอ็นพยุงฝ่าเท้าทั้ง 4 เส้น
3- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก้นและความมั่นคงของข้อเท้า
ในขณะที่กระดูกเชิงกรานของเราคว่ำไปด้านหน้า อาจทำให้หลังเราแอ่นและกล้ามเนื้อหลังทำงานหนักจนเกิดอาการปวดได้ ดังนั้นเราจะต้องให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวของกระดูกเชิงกราน และเพื่อทำให้กระดูกสันหลังของเรากลับมาอยู่ในตำแหน่งที่มีความสมดุลมากที่สุด
นอกจากนี้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวยังมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับกระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกราน เพื่อให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องขณะที่เราเดินหรือยืน
The Balance Pilates & Physio สามารถดูแลภาวะ knock knees อย่างไรได้บ้าง?
พวกเราคือผู้เชี่ยวชาญด้านการเคลื่อนไหว พิลาทิส การออกกำลังกายเพื่อการบำบัด การทำ Myofascia release และกายภาพบำบัด
- การออกกำลังกายพิลาทิส โดยการเน้นการเคลื่อนไหวแบบแยกส่วน ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็ง ความยืดหยุ่น ความมั่นคงและการควบคุมร่างกายตนเอง
- การออกกำลังกายทั่วไป เน้นการฟื้นฟูไปยังกล้ามเนื้อที่มีความเฉพาะเจาะจงโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ
- เทคนิค Myofascia release เป็นการบำบัดเพื่อคลายปมผังพืดของเนื้อเยื่อ สร้างแรงตึงตัวที่ดีให้กับร่างกาย และช่วยให้การออกกำลังกายพิลาทิสมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในภาวะ knock knees
- กายภาพบำบัด รักษาอาการปวดที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะ knock knee โดยใช้หัตถการและเครื่องมือต่างๆ
ขั้นตอนการแก้ปัญหาของเรา
01Body Reading – Release the Tension
เข้ารับการปรึกษากับทีมนักกายภาพบำบัดเพื่อเตรียมกลยุทธ์การรักษา อันมีพื้นฐานอยู่ที่..
– การสังเกต
– การตรวจประเมินร่างกาย
เป้าหมาย: เตรียมพร้อม และเข้าใจร่างกายตนเอง
02 Exercises strategy & Pilates
การออกกำลังกายและพิลาทิส โดยขึ้นอยู่กับ..
– สมรรถภาพทางกายของคุณ
– การเคลื่อนไหวของคุณ
– การออกกำลังกายทางกายภาพบำบัด
– การออกกำลังกายพิลาทิสเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่น
เป้าหมาย: เริ่มเคลื่อนไหว!
03 Home work exercises & New Habits
เรียนรู้ไปกับผู้เชี่ยวชาญ:
– การฝึกในที่บ้าน
– การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
– เรียนรู้ที่จะเดินอย่างถูกต้อง
เป้าหมาย: ไม่กลับไปมีอาการปวดหรือมีความตึงอีกต่อไป
สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง ได้แก่
- กล้ามเนื้อก้น (Glutes)
- กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและหน้าแข้ง (Quads & Tibialis)
- กล้ามเนื้อที่ใช้ในการพยุงอุ้งเท้า (Arches of Feet)
- การเคลื่อนไหวและเพิ่มความแข็งแรงให้กับนิ้วโป้งเท้า (Big toe mobility and strength)